เมนู

โดยความแปลกกัน โดยไม่หย่อนไม่ยิ่ง โดย
อุปมา โดยพึงเห็นด้วยอุปมา 2 อย่าง และ
โดยสำเร็จประโยชน์แก่ผู้เห็นอยู่.


ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลำดับ


ในนัยแห่งการวินิจฉัยทั้ง 6 เหล่านั้น ลำดับในข้อว่า โดยลำดับ
นี้ มีมากอย่าง คือ
อุปฺปตฺติกฺกโม ลำดับเห่งการเกิด
ปหานกฺกโม ลำดับแห่งการละ
ปฏิปตฺติกฺกโม ลำดับแห่งการปฏิบัติ
ภูมิกฺกโม ลำดับแห่งภูมิ
เทสนากฺกโม ลำดับแห่งเทศนา.
ในลำดับทั้ง 5 นั้น ลำดับแห่งการเกิดขึ้นมีอาทิอย่างนี้ว่า ปฐมํ กลลํ
โหติ กลลา โหติ อมฺพุทํ
(รูปครั้งแรกเป็นกลละ จากกลละเป็นอัมพุทะ)
ดังนี้. ลำดับแห่งการละมีอาทิอย่างนี้ว่า ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา
ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่พึงละโดยโสดาปัตติมรรค
มีอยู่ สภาวธรรมทั้งหลายที่พึงละโดยภาวนา คืออริยมรรคเบื้อง 3 มีอยู่.
ลำดับแห่งการปฏิบัติมีอาทิอย่างนี้ว่า ศีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ. ลำดับแห่งภูมิ
มีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมเป็นกามาพจร เป็นรูปาพจร. ลำดับแห่งเทศนามี
อาทิอย่างนี้ว่า สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 ดังนี้ หรือว่าทานกถา ศีลกถา.
บรรดาลำดับทั้ง 5 นั้น ในที่นี้ ลำดับแห่งการเกิดขึ้นย่อมไม่ควรก่อน เพราะ
ขันธ์เป็นภาวะไม่เกิดขึ้นโดยการกำหนดความสืบต่อกันมาเหมือนรูปกลละเป็น-
ต้น ลำดับแห่งการละก็ไม่ควร เพราะความที่ขันธ์ที่เป็นกุศลและอัพยากฤตอัน

พระอริยเจ้าไม่พึงละ ลำดับแห่งการปฏิบัติก็ไม่ควรเพราะขันธ์ที่เป็นอกุศลเป็น
ของไม่พึงปฏิบัติ ลำดับแห่งภูมิก็ไม่ควรเพราะเวทนาเป็นต้นเป็นธรรมนับเนื่อง
ด้วยภูมิ 4.
แต่ว่า ลำดับแห่งเทศนา ย่อมควรเพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ใคร่ในประโยชน์เกื้อกูลมีพระประสงค์จะทรงเปลื้องเวไนยชนใดผู้ตกไปในการ
ยึดขันธ์ 5 ว่าเป็นอัตตา จากความยึดถือว่าเป็นอัตตาโดยการแสดงแยก
ฆนะที่ประชุมกัน เพื่อความถือเอาโดยง่ายของชนนั้น จึงทรงแสดงรูปขันธ์
อันหยาบก่อนซึ่งเป็นอารมณ์ของวิญญาณมีจักษุเป็นต้น โดยไม่ต่างกัน. จาก
นั้นก็ทรงแสดงเวทนาอันรู้สึกพร้อมซึ่งมีรูปที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา
เป็นอารมณ์ ทรงแสดงสัญญาที่ถือเอาโดยอาการของอารมณ์เวทนาอย่างนี้ว่า
ยํ เวทิยติ ตํ สญฺชานาติ (เสวยอยู่ซึ่งอารมณ์ใดก็จำได้ซึ่งอารมณ์นั้น) ดังนี้
ทรงแสดงสังขารทั้งหลายตัวปรุงแต่งด้วยอำนาจแห่งสัญญา ทรงแสดงวิญญาณ
อันเป็นที่อาศัยและเป็นใหญ่ของขันธ์มีเวทนาเป็นต้นเหล่านั้น. พึงทราบนัยแห่ง
วินิจฉัยโดยลำดับอย่างนี้ก่อน.

ว่าโดยความแปลกกัน


ชื่อว่า โดยความแปลกกัน คือ ความแปลกกันแห่งขันธ์และ
อุปาทานขันธ์ ก็อะไรเล่าเป็นความแปลกกันแห่งขันธ์และอุปาทานขันธ์เหล่านั้น
บรรดาขันธ์เหล่านี้ ขันธ์ทั้งหลายตรัสไว้โดยไม่แปลกกันก่อน. อุปาทานขันธ์
ทั้งหลายตรัสไว้ให้แปลกกัน โดยเป็นขันธ์มีอาสวะและเป็นที่ตั้งของอุปาทาน
เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ 5 และ
อุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ขันธ์ 5 เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่